sutthipum
นายสุทธิ พุ่มพิทักษ์ ทำงานที่อยู่วิทยาลัยเทคนิคโพธาราม อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ตำแหน่งอาจารย์ประจำ แผนกวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ การศึกษาปริญญาตรี วิศวกรรมสิ่งทอ
ผมสุทธิเองคร๊าบบบบ
คนหน้าตาD
เกี่ยวกับฉัน
- ครูสุทธิ
- อำเภอโพธาราม, ราชบุรี, Thailand
- ตำแหน่งอาจารย์ประจำ แผนกวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ
แหล่งเรียนรู้
ลิงค์อาจารย์
ลิงค์ป.บัณฑิตราช.ฯ
วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2551
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
พระครูอุปการพัฒนกิจ เจ้าอาวาสวัดหนองหญ้านาง
ได้ทำการรักษาผู้เจ็บไข้ได้ป่วยด้วยวิชาแพทย์แผนไทยโดยใช้ยา
สมุนไพร การใช้น้ำมัน การนวดเหยียบเหล็กแดง การนวดประคบ
และการอบยาสมุนไพร สามารถรักษาโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรค
เหน็บชา เบาหวานไข้ทับระดู และโรคลมต่างๆได้
วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2551
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
การทำนาปลูกข้าว มีมาตั้งแต่ยุคโบราณกาล แม้ในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง สมัยกรุงสุโขทัย ก็ยังมีจารึกข้อความว่า “ในน้ำมีปลาในนามีข้าว” แสดงให้เห็นว่าในยุคสมัยสุโขทัยการทำนาได้เป็นอาชีพหลักของคนไทย แล้วการทำนา หากแบ่งเป็นทำตามฤดูกาลแล้ว สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การทำนาปี หรือนาน้ำฝน คือการทำนาที่ต้องอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติเป็นหลัก โดยทั่วไปจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน หากปีใดฝนมาเร็วก็จะเริ่มทำนาเร็ว หากปีใดฝนแล้งก็จะทำให้ไม่สามารถทำนาได้หรือทำได้แต่เสียหายมาก หรือหากปีใดน้ำมากเกินไปข้าว ก็จะเสียหาย หรือไม่ได้เกี่ยว ชะตาชีวิตของชาวนา จึงขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำฝน พันธุ์ข้าวที่ปลูกเป็นพันธุ์ข้าวที่มีความไวต่อช่วงแสง
2. การทำนาปรัง หรือนาครั้งที่สอง หรือนานอกฤดู หรือนาน้ำตม คือการทำนาที่ไม่ได้อาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติเป็นหลัก แต่อาศัยน้ำจากลำห้วย หนอง คลองบึง น้ำใต้ดิน หรือน้ำจากคลองชลประทาน พันธุ์ข้าวที่ปลูกเป็นพันธุ์ข้าวอายุสั้นหรือเกษตรกรเรียกว่า “พันธุ์ข้าวเตี้ย “ไม่มีความไวต่อแสง กล่าวคือข้าวจะออกดอกติดรวงข้าวและเก็บเกี่ยวได้ตามอายุ ระยะเวลาการเพาะปลูก และอายุการเก็บเกี่ยวจะน้อยกว่าข้าวนาปี การทำนาปรังจะใช้วิธีหว่านน้ำตม เป็นส่วนมากนอกจากแบ่งตามฤดูกาลแล้ว การทำนา ยังแบ่งออกตามวิธีการเพาะปลูกหลัก ๆ ได้ 2 วิธี คือ
1. การทำนาดำ จะทำในพื้นที่ราบลุ่มที่น้ำไม่ท่วมขังในฤดูน้ำหลาก จะเป็นนาน้ำฝน หรือนาในเขตชลประทานก็ได้ พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกจะเป็นพันธุ์ข้าวไวแสง หรือไม่ไวแสงก็ได้ แล้วแต่ฤดูกาล การเพาะ ปลูก การทำนาดำจะใช้แรงงานมาก เพราะต้องทำแปลงตกกล้าหรือแปลงเพาะกล้าข้าวก่อนแล้วจึงย้ายต้นกล้าไปปักดำอีกครั้งหนึ่ง ใช้ปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกน้อย และมีปัญหาเรื่องวัชพืชในนาข้าวน้อยกว่าการทำนาหว่าน
2. การทำนาหว่าน โดยมากการทำนาหว่านในฤดูนาปี จะทำในนั้นที่ ๆ เป็นที่ดอน หรือพื้นที่ ๆ มีน้ำท่วมขังในฤดูน้ำหลาก เช่นบริเวณนั้นที่ราบลุ่มภาคกลางเขตอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว จะหว่านแบบที่เรียกว่า “ หว่านแห้งหรือหว่านสำรวย “ หรือหากทำเทือกจะเรียกว่า “ หว่านเปียกหรือหว่านน้ำตม “
3.ปัจจุบันการทำนาในประเทศไทยโดยเฉพาะในเขตพื้นที่ชลประทานแทบจะไม่มีฤดูและเวลาที่แน่นอน เพราะจะมีการทำนาต่อเนื่อง และหมุนเวียนกันโดยตลอด หากท่านนั่งรถยนต์ผ่านสองข้างทางที่ทำนาจะพบว่าบางแปลงชาวนากำลังเก็บเกี่ยว บางแปลงข้าวอยู่ในระยะแตกกอ ซึ่งการทำนาแบบต่อเนื่องเช่นนี้จะทำให้มีปัญหาเรื่อง โรคและแมลงศัตรูข้าวระบาด เนื่องจากมีแหล่งอาหารบริบูรณ์ ประกอบกับเกษตรกรมักจะฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูข้าวโดยไม่จำเป็น จึงเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีการระบาดของศัตรูข้าวมากยิ่งขึ้น และมีต้นทุนในการนำนาสูง จนไม่มีกำไรากข้อมูลต้นทุนการผลิตข้าวนาปรัง ปี พ.ศ.2539-2541 โดยเฉลี่ยคิดเป็นเงิน 1,997 2,152 และ 2,157 บาทต่อไร่ ตามลำดับ ผลผลิตเฉลี่ยได้ จำนวน 721 663 และ 676 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นรายได้ 3,237 4,562 และ 3,390 บาทต่อไร่ ตามลำดับ เมื่อคิดคำนวนค่าแรงงานของตัวเกษตรกรด้วยแล้ว จะไม่มีกำไรเลย ทำให้เกษตรกรจำนวนมาก พยายามที่จะคิดค้นหาวิธีการทำนาใหม่ ๆ ที่จะลดต้นทุนการผลิต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นต้นทุนผันแปร เช่นค่าเตรียมดิน ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่าสารเคมีกำจัดศัตรูข้าว และค่าจ้างแรงงานปี พ.ศ.2539 นายละเมียด ครุฑเงิน เกษตรกร หมู่ที่ 9 ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ได้ทดลองปลูกข้าว หรือทำนาแบบ “ การปลูกข้าวด้วยตอซัง “ ซึ่งสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้เป็นจำนวนมาก คือ ลดค่าเตรียมดินได้ประมาณ 150 บาทต่อไร่ ลดค่าเมล็ดพันธุ์ข้าว 300-400 บาทต่อไร่ ลดค่าสารเคมีกำจัดวัชพืชได้ 80-100 บาทต่อไร่ ลดค่าสารเคมีกำจัดหอยเชอรี่ได้ 60-80 บาทต่อไร่ รวมลดต้นทุนทั้งสิ้น 500-700 บาทต่อไร่ หรือ 30-40 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนทั้งสิ้น
การเกลี่ยฟางทับตอซัง
การทำนาปลูกข้าวด้วยตอซัง ได้แพร่ขยายไปยังพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงหลายจังหวัดในปี พ.ศ.2542 เกษตรกรบ้านจ่า ตำบลเชิงกลัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ได้ประยุกต์การปลูกข้าวด้วยตอซัง ด้วยปรับปรุงเทคนิคและวิธีการ บางประการเช่นการปรับปรุงการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพดิน การเกลี่ยฟางข้าวให้คลุมกระจายทั่วตอซัง และการประดิษฐ์ชุดพวงล้อยาง จำนวน 8-10 เส้น ติดท้ายรถไถนา เพื่อลากทับตอซัง ให้แนบติดกับพื้นนา จึงเรียกวิธีการตามลักษณะการปฏิบัติว่า “ การปลูกข้าวล้มตอซัง “ และได้ขยายผลไปยังพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง เช่นจังหวัดชัยนาท และสุพรรณบุรีเนื่องจากการปลูกข้าวแบบล้มตอซังยังมีข้าวจำกัดบางประการ เช่น การปลูกในช่วงฤดูร้อน ต้นข้าวอ่อนที่แตกขึ้นมาใหม่ จากตอซัง จะตายเพราะน้ำในแปลงนาร้อนเกินไป และต้องเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง ซึ่งต้นข้าวจะยังสดไม่แห้งเกินไป จึงจะได้ต้นพันธุ์ที่มีหน่อข้าวแข็งแรง เจริญเติบโตดี บางครั้งเมื่อต้นข้าวที่แตกขึ้นมาใหม่ตาย จำเป็นต้องหว่านพันธุ์ข้าวเสริมบริเวณที่ตาย ทำให้ต้นข้าวมีอายุเก็บเกี่ยวไม่เท่ากัน ผลผลิตข้าวเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจะมีข้าวเขียวเจือปน ทำให้ขายได้ในราคาต่ำ
นายสกล จีนเท่ห์ เกษตรกรหมู่ที่ 4 ตำบลโพชนไก่ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งเป็นเกษตรกรผู้เข้าร่วมเรียนรู้ในโรงเรียนเกษตรกร ภายใต้โครงการศูนย์ส่งเสริมผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ตำบลโพชนไก่ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ได้ใช้ประสบการณ์จากการประกอบอาชีพการทำนาที่ตกทอดกันมาจากบรรพบุรุษ ร่วมกับประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนรู้โดยวิธีการปฏิบัติจริง ในโรงเรียนเกษตรกรร่วมกับเพื่อนคนอื่น ๆ ในท้องถิ่น ประยุกต์วิธีการปลูกข้าวแบบล้มตอซัง ให้เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นเป็นการทำนาวิธีใหม่ที่เรียกว่า “ นาเป็ด ” ซึ่งการทำนาเป็ดนี้เกิดขึ้นจากการเรียนรู้และปฏิบัติด้วยตัวเอง ไม่ได้เกิดจากการนำผลการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับระดับของนักวิชาการคนใดในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือสถาบันการศึกษาใดเลย เป็นภูมิปัญญาของเกษตรกรเองโดยแท้
นาเป็ด เป็นการทำนาวิธีใหม่ที่ใช้เป็ดมาช่วยทำนา เดิมทีมีผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงเป็ดฝูงขนาดใหญ่จำนวนมากได้เลี้ยงเป็ดแบบลดต้นทุนการผลิต หรือเรียกว่า “ เป็ดทุ่ง “ โดยการปล่อยฝูงเป็ดตั้งแต่ขนาดยังเล็กจากท้องทุ่งแถวจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท ให้ฝูงเป็ดเหล่านั้น เก็บกินข้าวเปลือก กุ้ง หอย ปู ปลาในท้องนาที่เก็บเกี่ยวข้าวแล้วเป็นอาหาร และเดินทางแบบค่ำไหนนอนนั่นเรื่อยมา เป็นแรมเดือน จนถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยาหรือปทุมธานี ฝูงเป็ดที่เลี้ยงจะโตมีขนาดพอดีกับการจับจำหน่าย หรือนำไปเลี้ยงต่อ การเลี้ยงเป็ดวิธีนี้ทำกันมาหลายปีจวบจนความเจริญของบ้านเมืองเกิดขึ้น มีการก่อสร้างตึกอาคารบ้านเรือนและถนนเป็นจำนวนมาก ไม่สะดวกกับการเดินทางเคลื่อนย้ายฝูงเป็ดเหมือนเช่นแต่ก่อน ประกอบกับการทำนาในระยะหลังนี้ไม่มีมีฤดูกาลเหมือนเช่นแต่ก่อน ที่ส่วนใหญ่ตลอดเส้นทางการเคลื่อนย้ายฝูงเป็ดจะปลูกข้าวปีละ 1 ครั้ง ตามธรรมชาติข้าวจะแก่และเก็บเกี่ยวจากเหนือลงใต้ ดังนั้น ฝูงเป็ดจึงเดินทางหากินจากเหนือไล่ลงมาใต้พอดีกับระยะเวลาเก็บเกี่ยว อีกประการหนึ่งที่สำคัญคือ เมื่อวิถีการทำนาเปลี่ยนแปลงจากปีละครั้ง เป็นแบบต่อเนื่องไม่มีฤดูกาล เกษตรกรผู้ปลูกข้าวมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูข้าวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารเคมีกำจัดหอยเชอรี่ ทำให้เป็ดตายเป็นจำนวนมาก และไม่มีสิ่งมีชีวิตที่เป็นอาหารของเป็ดหลงเหลืออยู่ในนาข้าวอีกเลย จึงทำให้วิถีการประกอบอาชีพเลี้ยงเป็ดพเนจร หรือ เป็ดทุ่ง หมดไปในปี พ.ศ. 2540 เศรษฐกิจของประเทศไทยตกต่ำ เกษตรกร ท้องทุ่งบางระจัน ดินแดนแห่งคนกล้า ได้หันมาเลี้ยงเป็ดเป็นอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวเป็นจำนวนมาก โดยเป็ดที่เลี้ยงส่วนมากจะใช้รถอีแต๋นลากกระบะที่ทำเป็นกรงบรรทุกเป็ด นำไปปล่อยเลี้ยงในพื้นที่ใกล้ ๆ หมุนเวียนไปในท้องทุ่งบางระจัน เพราะการทำนาในท้องทุ่งบางระจันมีการทำแบบหมุนเวียนต่อเนื่องตลอดทั้งปี จึงทำให้มีที่สำหรับเลี้ยงเป็ดได้ตลอดปีเป็ดกำลังช่วยเกษตรกรทำนา ขณะที่เลี้ยงเป็ดในทุ่ง เกษตรกร สกล จีนเท่ห์ ก็ใช้ความสังเกตุจากประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ในเรื่องของระบบนิเวศในโรงเรียนเกษตรกร ผนวกกับข้อจำกัดของการทำนาแบบล้มตอซังมาประยุกต์ ทดลองเอาเป็ดมาช่วยทำนา กล่าวคือ ภายหลังจากเกี่ยวข้าวแล้วก็ปล่อยเป็ดลงไปลุยในพื้นที่นา เพื่อเก็บหอยเชอรี่ เมล็ดข้าวเปลือก เมล็ดหญ้า และอื่น ๆ กิน ฟางที่อยู่ในนาก็จะถูกเป็ดย่ำจนเปื่อย มูลของเป็ดที่ถ่ายออกมาก็จะเป็นปุ๋ยให้แก่ต้นข้าวในนา หลังจากนั้นจึงเอาเป็ดออกจากแปลงนา และหว่านเมล็ดข้าวลงไปโดยไม่ต้องไถพรวนดิน โดยวิธีการปฏิบัติคล้ายกับข้าวล้มตอซัง จะแตกต่างตรงที่ไม่ต้องใช้ล้อยางล้มตอซัง แต่ใช้เป็ดแทน และต้องใช้เมล็ดข้าวงอก (หุ้ม) หว่าน ไม่ใช้ต้นแตกใหม่จากตอซัง เกษตรกร สกล จีนเท่ห์ ทดลองทำติดต่อกันมากกว่า 10 ฤดู จนมั่นใจว่าเป็นวิธีที่ดี และเหมาะสมที่สุดสำหรับท้องทุ่งบางระจัน และให้ ชื่อการทำนาวิธีนี้ว่า “ การทำนาเป็ด ” ซึ่งในปัจจุบันอำเภอบางระจัน หรือที่เรียกว่า “ บางรักชาติ ” มีพื้นที่นาเป็ดถึง 25,800 ไร่ และกำลังขยายเพิ่มอย่างต่อเนื่องในทุกฤดูกาล โดยมีวิธีการทำดังนี้ก่อนการเก็บเกี่ยวข้าวประมาณ 15 วัน ให้ระบายน้ำออกจากแปลงให้แห้ง เพื่อที่รถลงไปเกี่ยวจะได้ไม่เป็นร่องหรือรอยรถ และสะดวกในการเก็บเกี่ยว ปัจจุบันรถเกี่ยวข้าวจะติดเครื่องตีฟางให้กระจายไปทั่วโดยไม่ต้องจ้างเกลี่ยฟางปล่อย ไว้ 1 – 2 วัน ก็ทำการจุดไฟเผาตอซัง เพื่อให้ตอเก่านั้นตาย ถ้าปล่อยไว้ตอเก่าจะแตกหน่อทำให้ข้าวออกรวงไม่พร้อมกัน และเมื่อหว่านข้าว เมล็ดจะตกไม่ถึงดิน หลังเผาตอซังเอาน้ำเข้าแปลงให้ทั่ว และให้เป็ดลงไปหาอาหาร เพื่อกำจัดหอยเชอรี่และศัตรูพืชประมาณ 2 – 3 วัน แช่เมล็ดพันธุ์ข้าว (หุ้ม)ไว้ 1 คืน แล้วนำไปหว่านในแปลงอัตรา 20 – 25 กก./ไร่ แล้วแช่เมล็ดพันธุ์ที่หว่านลงในแปลงไว้ 24 ชั่วโมง จึงระบายน้ำออก และให้ทำการตรวจแปลงตามที่ลุ่ม ๆ เพื่อระบายน้ำออกให้หมดทั่วทั้งแปลงนา หลังจากข้าวงอกแล้วประมาณ 8 – 9 วัน ก็เริ่มฉีดยาคุมวัชพืชเหมือนการทำนาน้ำตม การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 หลังจากหว่านข้าว 20 – 25 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 16 – 20 – 0 จำนวน 15 กก./ไร่ และสูตร 46 – 0 – 0 จำนวน 15 กก./ไร่
การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ข้าวอายุ 50 – 55 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 46 – 0 – 0 จำนวน 10 กก./ไร่ การเก็บเกี่ยวเมื่ออายุประมาณ 110 – 115 วัน ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 900 – 1,000 กก./ไร่ ประโยชน์ที่รับจากการทำนาเป็ดลดต้นทุนการผลิต ค่าเตรียมดิน 350 บาท/ไร่ ค่าจ้างชักร่อง 50 บาท/ไร่ สารเคมีกำจัดหอยเชอรี่ 50 บาท/ไร่ รวม 450 บาท/ไร่ รักษาสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดหอยเชอรี่ ซึ่งทำลายสิ่งแวดล้อมรุนแรง (เอ็นโดซัลแฟน) ลำต้นข้าวแข็งแรง รวงใหญ่ ปริมาณเมล็ดมาก ให้ผลผลิตสูงกว่าการทำนา หว่านน้ำตม ผลผลิตสูงขึ้น (ผลผลิตเฉลี่ย 900 – 1,000 กก./ไร่) นายธวัชชัย บุญงาม เกษตรอำเภอบางระจัน และนายสกล จีนเท่ห์ คุณธวัชชัย บุญงาม เกษตรอำเภอบางระจัน ผู้มีเลือดเนื้อเชื้อไขคนกล้าแห่งบางระจัน เป็นผู้ที่ทุ่มเทส่งเสริมการทำนาเป็ดในอำเภอบางระจันอย่างเต็มที่ ให้แพร่ขยายไปทั่วท้องทุ่ง กล่าวว่า “ในภาพรวมของอำเภอบางระจันมีแนวโน้มที่เกษตรกรจะทำนาเป็ดเพิ่มมากขึ้น จะเห็นว่าการทำนาเป็ดในพื้นที่ 25,800 ไร่ สามารถประหยัดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรได้เป็นเงินทั้งสิ้น 11,610,000 บาท/ฤดูกาล คาดว่าฤดูต่อไปจะมีพื้นที่ทำนาเป็ดเพิ่มขึ้นถึง 40,000 ไร่ ในที่สุดการทำนาเป็ดจะเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งของเกษตรกรในท้องทุ่งบางระจัน และใกล้เคียง รวมถึงจังหวัดอื่น ๆ ที่มีลักษณะการทำนา และการเลี้ยงเป็ดที่เอื้อประโยชน์แก่กันและกันอีกด้วย “
วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550
ในหลวงกับเทคโนโลยี
จากการที่สภาพแวดล้อมได้เปลี่ยนแปลงเกิดเป็นภาวะมลพิษอันเกิดจากน้ำเน่าเสียที่มี อัตรา และปริมาณสูงขึ้นจนยากแก่การแก้ไขให้บรรเทาเบาบาง และกลับมีแนวโน้มรุนแรงมากยิ่งขึ้นนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศแบบ ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถผลิตขึ้นได้เองในประเทศ โดยทรงมุ่งหวังที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการบรรเทาน้ำเน่าเสียอีกทางหนึ่งด้วย โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณ เพื่อศึกษาวิจัยสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ร่วม กับกรมชลประทาน ซึ่งต่อมาเครื่องมือบำบัดน้ำเสียนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และเรียกกันว่า"กังหันน้ำชัยพัฒนา"การทดลองวิจัยเพื่อประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศ ในขณะนี้มี 9 รูปแบบ คือ
1.ครื่องกลเติมอากาศระบบเป่าอากาศลงไปใต้น้ำและกระจายฟอง Chaipattana Aerator
2. เครื่องกลเติมอากาศระบบเป่าอากาศหมุนใต้น้ำ หรือ "ชัยพัฒนาซุปเปอร์ฟองแอร์" Chaipattana Aerator, Model RX-3
3. เครื่องกลเติมอากาศแรงดันน้ำ หรือ "ชัยพัฒนาเวนจูรี่" Chaipattana Aerator, Model RX-4
4. เครื่องกลเติมอากาศระบบอัดและดูดอากาศลงใต้น้ำ หรือ "ชัยพัฒนาแอร์เจท Chaipattana Aerator, Model RX-5
5. เครื่องกลเติมอากาศแบบตีน้ำสัมผัสอากาศ หรือ "เครื่องตีน้ำชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model RX-6
6. เครื่องกลเติมอากาศแบบดูดและอัดน้ำลงไปที่ใต้ผิวน้ำ หรือ "ชัยพัฒนาไฮโดรแอร์" Chaipattana Aerator, Model RX-7
7. เครื่องมือจับเกาะจุลินทรีย์ หรือ "ชัยพัฒนาไบโอ" Chaipattana Bio-Filter, Model RX-8
8.เครื่องกลเติมอากาศแบบกระจายน้ำสัมผัสอากาศ หรือ "น้ำพุชัยพัฒนา" Chaipattana
9.เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำแบบหมุนช้า หรือ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, เครื่องกลเติมอากาศต่างๆนี้ ได้นำมาติดตั้งใช้งานกับระบบบำบัดน้ำเสียตามสถานที่ต่างๆ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พศ.2532 และได้มีการปรับปรุงตลอดเวลา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่จะให้มีการบำบัดน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกในการใช้งาน ประหยัดค่าใช้จ่าย และบำรุงรักษาได้ง่าย ตลอดจนมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน การดำเนินงานในขณะนี้ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ ทำให้น้ำใสสะอาดขึ้นลดกลิ่นเหม็นลงได้มากและมีปริมาณออกซิเจนในน้ำเพิ่มขึ้น บรรดาสัตว์น้ำ อาทิเต่า ตะพาบน้ำ และปลา สามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัย ตลอดจนสามารถบำบัดความสกปรกในรูปของมลสารต่าง ๆ ให้ลดต่ำลง ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ปัจจุบันมีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ร้องขอให้มูลนิธิชัยพัฒนาเข้าไปช่วยเหลือในการบำบัด น้ำเสียอย่างเร่งด่วนเป็นจำนวนมากเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เครื่องกลเติมอากาศ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้า ฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่พระบรมราชวงศ์ด้วย จึงนับได้ว่าเป็น "สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยและเป็นครั้งแรกของโลก" นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ประกาศให้กังหันน้ำ ชัยพัฒนาได้รับรางวัลที่ 1 ประเภทรางวัลผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ประจำปี 2536 และทูลเกล้า ฯ ถวายรางวัลนี้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกวาระหนึ่ง
^^^^^^^^^^---***---^^^^^^^^^^
-* -ในหลวงกับคอมพิวเตอร์ *-*
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่สนพระทัยใฝ่รู้และทรงศึกษาอย่างจริงจัง ลึกซึ้งในการค้นคว้าวิจัยเพื่อการพัฒนาในทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การเกษตร การชลประทาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ทรงเห็นความสำคัญและประโยชน์อย่างยิ่ง ทรงสนับสนุนการค้นคว้าในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ในด้านส่วนพระองค์นั้น ทรงศึกษาคิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ด้วยพระองค์เอง ทรงประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษรไทยที่มีลักษณะงดงาม เพื่อแสดงผลบนจอภาพคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกพระราชกรณียกิจต่างๆ และทรงติดตั้งเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนพระราชภารกิจต่างๆ ทั้งยังทรงเคยประดิษฐ์ ส.ค.ส. ด้วยคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนเพื่อทรงอวยพรปวงชนชาวไทย พระองค์ทรงสนพระทัยคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก สังเกตได้จากขณะเสด็จพระราชดำเนินชมงานนิทรรศการต่างๆ เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พระองค์สนพระทัยซักถามอาจารย์และนักศึกษาที่ประดิษฐ์ซอฟต์แวร์ต่างๆ อย่างละเอียดและเป็นเวลานานพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ ในส่วนที่เกี่ยวกับศาสนานั้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน ๑,๔๗๒,๙๐๐ บาท ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๔ ให้มหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำโครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถาต่อเนื่องจากโครงการพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์เดิม ที่มหาวิทยาลัยมหิดลพัฒนาเสร็จแล้วและได้ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสรัชมังคลาภิเษก ๒ กรกฎาคม ๒๕๓๑ ทรงเห็นว่าโครงการนี้ควรได้รวบรวมเอาชุดอรรถกถาและฎีกาเข้าไว้ด้วยกัน นับเป็นโครงการที่นำวิทยาการชั้นสูงมาประยุกต์ใช้กับข้อมูลเนื้อหาทางด้านพุทธศาสนา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถาฉบับคอมพิวเตอร์นี้ด้วยพระองค์เอง และมีพระบรมราชวินิจฉัย และพระราชวิจารณ์ในการออกแบบโปรแกรมสำหรับใช้ในการสืบค้นข้อมูล ในฐานะแห่งองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก การครั้งนี้กล่าวได้ว่า เป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนยาวนานสืบไปในอนาคตกาล
&&&&&&&&&&&&พระราชกรณียกิจด้านวิทยุกระจายเสียง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยในเรื่องวิทยุเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเยาว์ ซึ่งพระองค์ประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงซื้ออุปกรณ์เครื่องรับวิทยุ ซึ่งมีวางขายเลหลังราคาถูกทรงประกอบเป็นเครื่องรับวิทยุชนิดแร่ สามารถรับฟังทยุกระจายเสียงในยุโรปได้หลายแห่ง ต่อมาเมื่อกิจการวิทยุเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ได้นำหลอดวิทยุมาใช้ในเครื่องรับ-ส่งวิทยุและเครื่องขยายเสียงและพระองค์ท่านก็ได้ทรงทดลองอุปกรณ์แบบใหม่นี้ด้วยเช่นกัน เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับมา ประทับอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวร ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ พระองค์ได้ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ขึ้นที่พระราชวังสวนดุสิต และชื่อสถานีวิทยุดังกล่าวได้ทรงนำมาจากอักษรย่อของพระที่นั่งอัมพรสถาน ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ออกอากาศครั้งแรก ต่อมาจึงย้ายสถานีวิทยุ อ.ส.เข้าไปตั้งในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สถานีวิทยุ อ.ส. เมื่อแรกตั้งเป็นสถานีเล็กๆ มีเครื่องส่ง ๒ เครื่อง ขนาดที่มีกำลังส่ง ๑๐๐ วัตต์ ออกอากาศด้วยคลื่นสั้นและคลื่นยาวในระบบ AM พร้อมๆ กัน เครื่องส่งรุ่นแรกนี้เป็นเครื่องที่ กรมประชาสัมพันธ์ทูลเกล้าฯ ถวายและติดตั้งให้ด้วยเมื่อออกอากาศไปได้ระยะหนึ่ง และในระบบคลื่นสั้นก็มีจดหมายรายงานผลการรับฟัง เข้ามาจากหลายประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่นสหรัฐอเมริกา เยอรมันฯ เป็นต้น ดังนั้นจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขยายกำลังส่ง โดยมีชื่อรหัสสถานีว่า HS 1 AS ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ สถานีวิทยุ อ.ส.ได้เพิ่มการส่งกระจายเสียงในระบบFMขึ้นอีกระบบหนึ่งในการขยายด้านกำลังส่งนั้นอุปกรณ์ต่างๆ ล้วนแต่มีผู้โดยเสด็จพระราชกุศล เพื่อให้สถานีวิทยุ อ.ส. สามารถบริการประชาชนได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น อาจถือได้ว่าเป็นสถานีวิทยุเอกชนเพียงแห่งเดียวที่สามารถกระจายเสียงคลื่นสั้นได้ ทั้งนี้เพราะถือว่าเป็นเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ พระองค์ทรงมีวัตถุประสงค์ที่ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. เพื่อเปิดโอกาสให้พสกนิกรมีช่องทางในการติดต่อกับพระองค์ได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนตามพิธีการเหมือนในสมัยก่อน ทรงใช้สถานีวิทยุเพื่อเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ติดต่อข่าวสารกับประชาชน และเป็นสื่อสัมพันธ์ระหว่างพระองค์และประชาราษฎร์ ที่ทรงแสดงให้ทราบถึงใจรักที่พระองค์ท่านพระราชทาน ให้กับประชาชนทั่วทุกคน นอกเหนือจากเป็นสถานีวิทยุของสื่อมวลชนเพื่อการบันเทิง และเผยแพร่ความรู้กับประชาชนแล้ว ยังได้ทำหน้าที่แจ้งข่าวสารแก่ประชาชนในโอกาสสำคัญ หรือเกิดเหตุการณ์ที่สำคัญต่างๆ ขึ้น เช่น การเกิดโรคโปลีโอระบาดในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ อหิวาตกโรคในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ และเมื่อเกิดวาตภัยที่แหลมตะลุมพุกในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยมีพระราชดำริให้ใช้สถานีวิทยุ อ.ส. เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง ในการช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรม จนเป็นบ่อเกิดของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ซึ่งปัจจุบันมีคุณขวัญแก้ว วัชโรทัย ทำหน้าที่นายสถานี เล่าให้ฟังว่า นโยบายหลักเกี่ยวกับการบริหารงานของสถานี ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้ก็คือ การเปิดโอกาสให้คนที่มีความรู้ ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการหรือเอกชน ได้เข้ามาสนองพระมหากรุณาธิคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ของสถานีจึงเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น และทรงรับภาระต่างๆ ด้านสถานีด้วยทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ พระองค์ทรงใช้นโยบายประหยัดและใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าที่สุด และในปัจจุบันนี้สถานีวิทยุ อ.ส. ยังคงกระจายเสียงเป็นประจำทุกวันเว้นวันจันทร์ โดยออกอากาศทั้งคลื่นสั้นและคลื่นยาว ในระบบ AM 1332 KHzและ FM 104 MHz ควบคู่กันไปด้วยกำลังส่ง ๑๐ กิโลวัตต์ โดยออกอากาศวันอังคารถึงวันเสาร์ เวลา ๑๐.๓๐-๑๒.๐๐ และ ๑๖.๐๐-๑๙.๐๐ วันอาทิตย์ เวลา ๙.๐๐-๑๒.๐๐ หยุดทุกวันจันทร์
~~~~~~~~~~~~~~
คำถามท้ายหน่วยการเรียน 4
จงเติมคำลงในช่องว่างต่อไปนี้ให้สมบูรณ์และถูกต้อง
1. คำว่า Communis แปลว่า คล้ายคลึง หรือ ร่วมกัน
2. การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึก นึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ
ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้ส่ง ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้รับ
3. Sender -------> Message -------> Channel -------> Ricuener
4. สาร หมายถึง เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด
5. Elements หมายถึง องค์ประกอบย่อย , พื้นฐานที่จำเป็นต้องมี
ตัวอย่าง เช่น สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ หรือสีแดง สีเหลือง
6. Structure หมายถึง โครงสร้างที่เกิดการนำเอาองค์ประกอบย่อย ๆ มาร่วมกัน
ตัวอย่าง เช่น คำ , ประโยค หรือ สีสันของรูปร่าง รูปทรง ฯลฯ
7. Content หมายถึง ข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด , ความต้องการของผู้ส่ง , ข้อมูลนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
ตัวอย่าง เช่น เนื้อหา , สาระ , ความรู้สึก , ทัศนคติ , ทักษะ , ประสบการณ์
8. Treatment หมายถึง วิธีการเลือกการจัดรหัสเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะสามารถถ่ายทอดไปยังผู้รับ
ตัวอย่าง เช่น แบบจำลอง SMCR , Shannon and Warrer Weaver
9. Code หมายถึง กลุ่มสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึก นึกคิด ความต้องการ
ตัวอย่าง เช่น ภาษาพูด , ภาษาเขียน , ดนตรี , ภาพวาด , กิริยาท่าทาง
10. อุปสรรคหรือสิ่งที่รบกวนภายนอก เช่น เสียงดัง อากาศร้อน กลิ่นไม่พึงประสงค์ แสงแดด ฯลฯ
11. อุปสรรคหรือสิ่งที่รบกวนภายใน เช่น ความเครียด อารมณ์ขุ่นมัว เจ็บป่วย วิตกกังวล
12. Encode หมายถึง การเข้ารหัสหรือแปลความต้องการเป็นสัญลักษณ์หรือสัญญาณต่าง ๆ
13. Decode หมายถึง การถอดรหัสจากสัญลักษณ์หรือสัญญาณต่าง ๆ
14. จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอน มาให้ครบถ้วนและถูกต้อง
กระบวนการเรียนการสอน เป็นกระบวนการสื่อความหมายอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
1. ครู จัดเตรียมเนื้อหาตามหลักสูตร
2. ผ่านสื่อหรือช่องทาง (การสอน)
3. นักเรียนเป็นผู้รับ
4. ผลย้อนกลับจากนักเรียนไปยังการสอน , หลักสูตรและครู
1. ครูในฐานะเป็นผู้ส่งและผู้กำหนดจุดมุ่งหมายของระบบการสอน จะต้องมีพฤติกรรมคือ
1.1 เข้าใจเนื้อหาที่สอนอย่างดี
1.2 มีความสามารถในการสื่อความหมาย เช่น การพูด การเขียน ลีลาท่าทาง ฯลฯ
1.3 ต้องจัดบรรยากาศในการเรียน ให้เอื้อต่อการเรียนรู้
1.4 วางแผนจัดระบบการถ่ายทอดความรู้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน
2. เนื้อหาหลักสูตรตลอดจนทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ เป็นสิ่งที่ครูจะต้องถ่ายทอดให้ผู้เรียน เนื้อหาควรมีลักษณะดังนี้
2.1 เหมาะกับเพศและวัยของผู้เรียน
2.2 สอดคล้องกับเทคนิค วิธีสอน สื่อต่าง ๆ
2.3 เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเวลาควรปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
3. สื่อหรือช่องทาง เป็นตัวกลางที่จะนำเนื้อหาจากครู ไปถึงผู้เรียน ลักษณะสื่อความเป็นดังนี้
3.1 มีศักยภาพเหมาะสมกับธรรมชาติของเนื้อหา
3.2 สอดคล้องกับธรรมชาติของประสาทสัมผัสแต่ละช่องทาง
3.3 เด่น สะดุดตา ดูง่าย สื่อความหมายได้ดี
4. นักเรียน หรือ ผู้เรียน เป็นเป้าหมายหลักของการเรียนการสอนที่จะทำให้ผู้เรียน เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนควรมีลักษณะดังนี้
4.1 มีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย โดยเฉพาะ ประสาทสัมผัสทั้ง 5
4.2 มีความพร้อมทางด้านจิตใจ อารมณ์มั่นคงปกติ
4.3 มีทักษะในการสื่อความหมาย
4.4 มีเจตคติต่อครูผู้สอนและเนื้อหาวิชา
15. จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน
กระบวนการของการเรียนการสอนมักประสบความล้มเหลวบ่อย ๆ เนื่องจาก อุปสรรคหลายประการ ดังนี้
1. ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ ในการเรียน ให้ผู้เรียนทราบ ก่อนลงมือสอน ทำให้ผู้เรียนขาดเป้าหมายในการเรียน
2. ครูผู้สอนไม่คำนึงถึงข้อจำกัด และขีดความสามารถของผู้เรียนในแต่ละคน มักใช้วิธีสอนแบบเดียวกันทุกคน
3. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะจัดบรรยากาศ ขจัดอุปสรรคและสร้างความพร้อมให้แก่ผู้เรียนก่อนลงมือสอน
4. ครูผู้สอนบางคนใช้คำยาก ทำให้ผู้เรียนบางคนไม่เข้าใจความหมายของคำ และเนื้อหาโดยรวม
5. ครูผู้สอน มักนำเสนอเนื้อหาวกวน สับสน รวดเร็ว ไม่สัมพันธ์ต่อเนื่อง กระโดดไปมา ทำให้เข้าใจยาก
6. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะใช้สื่อการสอนให้เหมาะกับเนื้อหา และระบบของผู้เรียน
ดังนั้น ในกระบวนการเรียนการสอน จึงควรคำนึงถึงอุปสรรคต่าง ๆ และพยายามขจัดให้หมดไปเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
การผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียโรงงานอุตสาหกรรม ขยะ และของเสียจากฟาร์มปศุสัตว์
โครงการนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยีการย่อยสลายแบบไม่ใช้อากาศของน้ำ งานอุตสาหกรรมเกษตร ให้รับภาระบรรทุกสารอินทรีย์ได้ 10 กิโลกรม ซีโอดี/ลบ.ม./วัน ที่ระยะเวลากัก เก็บ 2 วัน ได้ต้นแบบห้องปฏิบัติการ 1 ต้นแบบ คือ แบบจำลองทางจลน์พลศาสตร์ในกระบวนการหมักแบบไร้ก๊าซชีวภาพให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
นอกจากนี้ ไบโอเทคยังได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียและผลิตพลังงานก๊าซชีวภาพ โดยในการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียแบบตรึงฟิล์มจุลินทรีย์ไม่ใช้อากาศซึ่งเป็นระบบปิด ใช้พลังงานในการบำบัดต่ำไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่น มีประสิทธิภาพสูง ลดปริมาณสารเคมีที่ใช้ และลดพื้นที่ที่ใช้ในการบำบัดจากเดิมมากกว่าครึ่ง จากการเดินระบบปัจจุบัน พบว่า สามารถผลิตก๊าซชีวภาพทดแทนการใช้น้ำมันเตาได้ 100 % ของกระบวนการผลิต ช่วยให้โรงงานประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้ ประมาณ 120,000 บาท/วัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 24 ล้านบาท/ปี (น้ำมันเตาราคา 14 บาท/ลิตร)
วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2550
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
มีแนวทางการใช้มากมาย มีอยู่ 6 ประเภท
1. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาคำอธิบายบทเรียนมาบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ แล้วนำบทเรียนนั้นมาแสดงแก่ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนอ่านคำอธิบายนั้นแล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะทดสอบความเข้าใจว่าถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้องก็ต้องมีวิธีการอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น แล้วถามซ้ำอีก ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาถึงระดับใช้สื่อประสม และใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุผลสัมฤทธิ์มากขึ้น
2. การศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการศึกษาทางไกลมีหลายแบบ ตั้งแต่แบบง่าย ๆ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ ออกอากาศให้ผู้เรียนศึกษาเอง ตามเวลาที่ออกอากาศ ไปจนถึงการใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม หรือการประยุกต์ใช้ระบบประชุมทางไกล โดยให้ผู้สอน และผู้เรียนสามารถสื่อสารกันได้ทันทีเพื่อสอบถามข้อสงสัยหรืออธิบายคำสอนเพิ่มเติม
3. เครือข่ายการศึกษา เป็นการจัดทำเครือข่ายการศึกษา เพื่อให้ครู อาจารย์ และนักเรียน นักศึกษามีโอกาสใช้เครือข่ายเพื่อเสาะแสวงหาความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมายในโลก และใช้บริการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษา เช่น บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การเผยแพร่ และค้นหาข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งในปัจจุบันมีเครือข่ายสคูลเน็ต ที่เนคเทคได้ส่งเสริมให้เกิดขึ้นและมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการนี้ประมาณ 4.393 โรงเรียน และยังมีเครือข่ายกาญจนาภิเษกที่จัดทำขึ้น เพื่อเป็นการกระจายความรู้ให้กับประชาชนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าใช้สารสนเทศแต่อย่างใด
4. การใช้งานในห้องสมุด ในปัจจุบันห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ และเอกชนเกือบทุกแห่ง ได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงาน นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีการร่วมมือในการให้บริการในลักษณะเครือข่าย การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในห้องสมุด ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวก
มากขึ้น เช่น บริการยืมคืน การค้นหาหนังสือ วารสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
5. การใช้งานในห้องปฏิบัติการ มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานในห้องปฏิบัติการ ร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น การจำลองแบบ การออกแบบวงจรไฟฟ้า การควบคุม การทดลอง ซึ่งอุปกรณ์ที่ทันสมัยในปัจจุบัน ต่างผนวกความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปด้วยแทบทั้งสิ้น
6. การใช้ในงานประจำและงานบริการ เช่น การจัดทำทะเบียนประวัติของนักเรียนนักศึกษา การเลือกเรียน การลงทะเบียนเรียน การแสดงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การแนะแนวอาชีพ และศึกษาต่อ ข้อมูลผู้ปกครองหรือข้อมูลครู ซึ่งการมีข้อมูลดังกล่าว ทำให้ครูอาจารย์สามารถติดตาม และดูแลนักเรียนได้อย่างดี รวมทั้งครูอาจารย์สามารถพัฒนาตนเองได้สูงขึ้น
ข้อมูลจากหนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546
เรียบเรียงโดย อำพร ไล้สมุทร , วารินทร์ ผลละมุด