นวัตกรรมที่สนใจในการเลือกการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสีย เพราะ
1. ลดมลภาวะของเสีย
2. นำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ได้
3. มีการผลิตก๊าซชีวภาพแทนที่การใช้น้ำมันซึ่งกำลังขาดแคลน
โครงการนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยีการย่อยสลายแบบไม่ใช้อากาศของน้ำ งานอุตสาหกรรมเกษตร ให้รับภาระบรรทุกสารอินทรีย์ได้ 10 กิโลกรม ซีโอดี/ลบ.ม./วัน ที่ระยะเวลากัก เก็บ 2 วัน ได้ต้นแบบห้องปฏิบัติการ 1 ต้นแบบ คือ แบบจำลองทางจลน์พลศาสตร์ในกระบวนการหมักแบบไร้ก๊าซชีวภาพให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
นอกจากนี้ ไบโอเทคยังได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียและผลิตพลังงานก๊าซชีวภาพ โดยในการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียแบบตรึงฟิล์มจุลินทรีย์ไม่ใช้อากาศซึ่งเป็นระบบปิด ใช้พลังงานในการบำบัดต่ำไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่น มีประสิทธิภาพสูง ลดปริมาณสารเคมีที่ใช้ และลดพื้นที่ที่ใช้ในการบำบัดจากเดิมมากกว่าครึ่ง จากการเดินระบบปัจจุบัน พบว่า สามารถผลิตก๊าซชีวภาพทดแทนการใช้น้ำมันเตาได้ 100 % ของกระบวนการผลิต ช่วยให้โรงงานประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้ ประมาณ 120,000 บาท/วัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 24 ล้านบาท/ปี (น้ำมันเตาราคา 14 บาท/ลิตร)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น