นายสุทธิ พุ่มพิทักษ์ ทำงานที่อยู่วิทยาลัยเทคนิคโพธาราม อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ตำแหน่งอาจารย์ประจำ แผนกวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ การศึกษาปริญญาตรี วิศวกรรมสิ่งทอ

ผมสุทธิเองคร๊าบบบบ

คนหน้าตาD

คนหน้าตาD
นายสุทธิ พุ่มพิทักษ์

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อำเภอโพธาราม, ราชบุรี, Thailand
ตำแหน่งอาจารย์ประจำ แผนกวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ
Powered By Blogger

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550

คำถามท้ายหน่วยการเรียน 4

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 4
จงเติมคำลงในช่องว่างต่อไปนี้ให้สมบูรณ์และถูกต้อง
1. คำว่า Communis แปลว่า คล้ายคลึง หรือ ร่วมกัน
2. การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึก นึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ
ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้ส่ง ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า
ผู้รับ
3. Sender -------> Message -------> Channel -------> Ricuener
4. สาร หมายถึง เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด
5. Elements หมายถึง องค์ประกอบย่อย , พื้นฐานที่จำเป็นต้องมี
ตัวอย่าง เช่น สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ หรือสีแดง สีเหลือง
6. Structure หมายถึง โครงสร้างที่เกิดการนำเอาองค์ประกอบย่อย ๆ มาร่วมกัน
ตัวอย่าง เช่น คำ , ประโยค หรือ สีสันของรูปร่าง รูปทรง ฯลฯ
7. Content หมายถึง ข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด , ความต้องการของผู้ส่ง , ข้อมูลนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
ตัวอย่าง เช่น เนื้อหา , สาระ , ความรู้สึก , ทัศนคติ , ทักษะ , ประสบการณ์
8. Treatment หมายถึง วิธีการเลือกการจัดรหัสเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะสามารถถ่ายทอดไปยังผู้รับ
ตัวอย่าง เช่น แบบจำลอง SMCR , Shannon and Warrer Weaver
9. Code หมายถึง กลุ่มสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึก นึกคิด ความต้องการ
ตัวอย่าง เช่น ภาษาพูด , ภาษาเขียน , ดนตรี , ภาพวาด , กิริยาท่าทาง
10. อุปสรรคหรือสิ่งที่รบกวนภายนอก เช่น เสียงดัง อากาศร้อน กลิ่นไม่พึงประสงค์ แสงแดด ฯลฯ
11. อุปสรรคหรือสิ่งที่รบกวนภายใน เช่น ความเครียด อารมณ์ขุ่นมัว เจ็บป่วย วิตกกังวล
12. Encode หมายถึง การเข้ารหัสหรือแปลความต้องการเป็นสัญลักษณ์หรือสัญญาณต่าง ๆ
13. Decode หมายถึง การถอดรหัสจากสัญลักษณ์หรือสัญญาณต่าง ๆ
14. จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอน มาให้ครบถ้วนและถูกต้อง
กระบวนการเรียนการสอน เป็นกระบวนการสื่อความหมายอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
1. ครู จัดเตรียมเนื้อหาตามหลักสูตร
2. ผ่านสื่อหรือช่องทาง (การสอน)
3. นักเรียนเป็นผู้รับ
4. ผลย้อนกลับจากนักเรียนไปยังการสอน , หลักสูตรและครู

1. ครูในฐานะเป็นผู้ส่งและผู้กำหนดจุดมุ่งหมายของระบบการสอน จะต้องมีพฤติกรรมคือ
1.1 เข้าใจเนื้อหาที่สอนอย่างดี
1.2 มีความสามารถในการสื่อความหมาย เช่น การพูด การเขียน ลีลาท่าทาง ฯลฯ
1.3 ต้องจัดบรรยากาศในการเรียน ให้เอื้อต่อการเรียนรู้
1.4 วางแผนจัดระบบการถ่ายทอดความรู้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน
2. เนื้อหาหลักสูตรตลอดจนทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ เป็นสิ่งที่ครูจะต้องถ่ายทอดให้ผู้เรียน เนื้อหาควรมีลักษณะดังนี้
2.1 เหมาะกับเพศและวัยของผู้เรียน
2.2 สอดคล้องกับเทคนิค วิธีสอน สื่อต่าง ๆ
2.3 เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเวลาควรปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
3. สื่อหรือช่องทาง เป็นตัวกลางที่จะนำเนื้อหาจากครู ไปถึงผู้เรียน ลักษณะสื่อความเป็นดังนี้
3.1 มีศักยภาพเหมาะสมกับธรรมชาติของเนื้อหา
3.2 สอดคล้องกับธรรมชาติของประสาทสัมผัสแต่ละช่องทาง
3.3 เด่น สะดุดตา ดูง่าย สื่อความหมายได้ดี
4. นักเรียน หรือ ผู้เรียน เป็นเป้าหมายหลักของการเรียนการสอนที่จะทำให้ผู้เรียน เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนควรมีลักษณะดังนี้
4.1 มีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย โดยเฉพาะ ประสาทสัมผัสทั้ง 5
4.2 มีความพร้อมทางด้านจิตใจ อารมณ์มั่นคงปกติ
4.3 มีทักษะในการสื่อความหมาย
4.4 มีเจตคติต่อครูผู้สอนและเนื้อหาวิชา
15. จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน
กระบวนการของการเรียนการสอนมักประสบความล้มเหลวบ่อย ๆ เนื่องจาก อุปสรรคหลายประการ ดังนี้
1. ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ ในการเรียน ให้ผู้เรียนทราบ ก่อนลงมือสอน ทำให้ผู้เรียนขาดเป้าหมายในการเรียน
2. ครูผู้สอนไม่คำนึงถึงข้อจำกัด และขีดความสามารถของผู้เรียนในแต่ละคน มักใช้วิธีสอนแบบเดียวกันทุกคน
3. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะจัดบรรยากาศ ขจัดอุปสรรคและสร้างความพร้อมให้แก่ผู้เรียนก่อนลงมือสอน
4. ครูผู้สอนบางคนใช้คำยาก ทำให้ผู้เรียนบางคนไม่เข้าใจความหมายของคำ และเนื้อหาโดยรวม
5. ครูผู้สอน มักนำเสนอเนื้อหาวกวน สับสน รวดเร็ว ไม่สัมพันธ์ต่อเนื่อง กระโดดไปมา ทำให้เข้าใจยาก
6. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะใช้สื่อการสอนให้เหมาะกับเนื้อหา และระบบของผู้เรียน
ดังนั้น ในกระบวนการเรียนการสอน จึงควรคำนึงถึงอุปสรรคต่าง ๆ และพยายามขจัดให้หมดไปเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
*-*-*-*-*-*-*-*-*

ไม่มีความคิดเห็น: